วิตกกังวล Anxiety

การจัดการอารมณ์

วิตกกังวล Anxiety

ความรู้สึกวิตกกังวล เกิดจากสถานการณ์หรือประสบการณ์ที่ทำให้เกิดความกังวลหรือความเครียดในใจ

ส่วนใหญ่มักเกิดจากความกังวลต่อสิ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ปัจจัยหลักๆ คือ เกิดจากพันธุกรรม เกิดจากสถานการณ์รอบตัวที่ส่งผลต่อความรู้สึก เกิดจากการทำงานที่เกิดความเครียดเป็นระยะสะสม

โรควิตกกังวลมีผลต่อการชีวิตประจำวันและสุขภาพในอนาคต ควรบำบัดก่อนสายเกินไป


ความรู้สึกวิตกกังวล เกิดจากอะไร

เกิดจากสถานการณ์หรือประสบการณ์ที่ทำให้เกิดความกังวลหรือความเครียดในใจ ส่วนใหญ่มักเกิดจากความกังวลต่อสิ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ความกังวลนี้อาจเกิดจากความกังวลในการแสวงหาความปลอดภัยส่วนตัว

การกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจหรือการเงิน การกังวลในความสามารถในการทำงานหรือการศึกษา หรือการกังวลในความสัมพันธ์กับผู้อื่น

นอกจากนี้ ความวิตกกังวลยังอาจเกิดขึ้นจากปัจจัยทางสุขภาพ เช่น สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง สภาพอากาศ หรือปัญหาทางร่างกายที่ทำให้เกิดความกังวลในจิตใจ

ทำไมต้องเข้ารับการบำบัดจิตจากโรควิตกกังวล

การบำบัดจิตเป็นกระบวนการที่ช่วยให้คนสามารถคลายความกังวลและปรับสมดุลในใจได้ด้วยการพูดคุยกับนักจิตบำบัดผู้มีประสบการณ์ช่วยให้เราได้รับการดูแลและรับการช่วยเหลือในการจัดการกับปัญหาของเราได้อย่างเหมาะสม

เมื่อมีปัญหาหรือความกังวลที่รุนแรงเกินกว่าจะจัดการได้ด้วยตนเอง การบำบัดทางจิตใจและได้รับคำปรึกษาโดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านจิตบำบัดและด้านสุขภาพจิตจะได้รับการช่วยเหลือ ช่วยให้เราสามารถแก้ไขปัญหาในแง่มุมใหม่ และเรียนรู้ทักษะในการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพ

โดยใช้เครื่องมือและเทคนิคต่างๆ เช่น การพูดคุยหาจุดที่กังวลที่แท้จริง พูดคุยให้คำปรึกษา การฝึกสมอง เทคนิคการผ่อนคลาย และบทสนทนาที่ช่วยให้คนเรียนรู้และเข้าใจถึงประสบการณ์ของตนเองอย่างมีสติและมีความเข้าใจในเรื่องที่ทำให้เกิดความกังวลนั้นๆ

ทำให้ผู้เข้ารับการบำบัดสามารถจัดการกับความกังวลได้ดียิ่งขึ้นและเพิ่มคุณภาพชีวิตได้ในที่สุด


โรควิตกกังวลมีกี่ชนิด

โรควิตกกังวลเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย แต่ปัจจัยหลักๆ คือ เกิดจากพันธุกรรม เกิดจากสถานการณ์รอบตัวที่ส่งผลต่อความรู้สึก เกิดจากการทำงานที่เกิดความเครียดเป็นระยะสะสม โรควิตกกังวลสามารถแบ่งออกเป็น 5 ชนิดดังนี้

  1. โรควิตกกังวลทั่วไป (Generalized Anxiety Disorder ,CAD) กังวลมากกว่าปกติในเรื่องทั่วไป หากวิตกกังวลแบบเดิมนานเกินกว่า 6 เดือน
  2. โรคแพนิค (Panic Disorder) อาการตื่นตระหนก เกิดความวิตกกังวลโดยไม่มีสาเหตุ หากเกิดอาการเจ็บปวดนิดหน่อยก็กลับมีความกังวล อาจเกิดเป็นพักๆ ทำให้เหงื่อออก ใจสั่น วูบ
  3. โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive Compulsive Disorder, OCD) เกิดจากการคิดซ้ำไปซ้ำมาในเรื่องเดิมๆ ก่อให้เกิดความรู้สึกวิตกกังวลใจ 
  4. โรคกลัวสังคม (Social Phobia) เกิดความวิตกเมื่อไปอยู่ในสถานการณ์ที่คิดว่าตัวเองจะต้องถูกจ้องมอง กลัวการพูดคุยกับคนอื่นๆ
  5. โรคกลัวแบบเฉพาะเจาะจง (Phobias) เช่น กลัวที่แคบ กลัวสัตว์ แม้บางสิ่งอาจจะไม่น่ากลัว แต่ก็ยังกลัวอยู่ อาจเกิดจากเรื่องในวัยเด็ก

เมื่อเกิดอาการวิตกกังวลเหล่านี้เป็นเวลานาน และไม่สามารถปรับตัวให้รับมือกับสถานการณ์ต่างๆได้ อาจทำให้เกิดความอ่อนเพลีย นอนไม่หลับ ควรเข้าพบแพทย์เพื่อหาแนวทางการรักษาต่อไป


Serviceที่เกี่ยวข้อง